กรรโชกทรัพย์ มีเนื้อความกฏหมายว่าอย่างไรบ้างเราไปดูกัน

มาตรา 337 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ ตนหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน “โดยใช้กำลังประทุษร้าย” หรือ “โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย” ต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(1) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น ให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
(2) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15718/2553
จำเลยกับพวกวางแผนขับรถยนต์แท็กซี่ชนรถยนต์ปิกอัพของผู้เสียหาย แล้วลงจากรถเรียกค่าเสียหายจากผู้เสียหายอ้างว่าเสียหายเป็นจำนวนมาก แต่ขอเรียกเพียง 5,000 บาท ผู้เสียหายต่อรอง พวกของจำเลย พูดขู่ว่าหากพูดไม่รู้เรื่องจะเรียกตำรวจ ผู้เสียหายยอมจ่ายเงินให้ 500 บาท แล้วจำเลยกับพวกแยกย้ายหลบหนีไปทันที ดังนั้น การที่จำเลยขู่ว่าจะเรียกเจ้าพนักงานตำรวจมา จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบ แต่เป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อเสรีภาพและชื่อเสียงของผู้เสียหาย เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมมอบเงินให้ ถือได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแก่จำเลยแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
กรรโชกทรัพย์ มาตรา 337
1. ข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ หรือรับว่าจะให้ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นนั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้รับผลประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินจริงๆ ก็ตาม
2. เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 337 ในทันที หรือในภาคหน้าก็ได้
3. การใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญ ในข้อ 2 จะกระทำต่อ ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามก็ได้
รีดเอาทรัพย์ มาตรา 338
1. ข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ หรือรับว่าจะให้ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์ จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นนั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้รับประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์จริงๆก็ตาม
2. โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ
3. การกระทำในข้อ 2 ทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่ สามเสียหาย
ชิงทรัพย์ มาตรา 339
1. เป็นการลักทรัพย์โดย ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่ว่าจะประทุษร้ายในทันที เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 339
2. เป็นการกระทำต่อผู้ถูกชิงทรัพย์ โดยตรง
3. ผู้กระทำผิดต้องได้ทรัพย์ไป ถ้าหากไม่ได้ทรัพย์ก็เป็นความผิด ฐานพยายาม ไม่เป็นความผิดสำเร็จ เช่น กรรโชกทรัพย์และรีดเอาทรัพย์
"เอ็งกินเหล้าเมายาไม่ว่าหรอก แต่ขอให้ออกวิชาการบ้าง อย่าเหลวไหล"

วิดีโอเกี่ยวกับประกันภัย | Insurance Videos

Go to top